เหล็กบีม H-Beam I-Beam WF
รู้จักกับเหล็กเอชบีม (H-Beam) และเหล็กไวด์แฟรงค์ (Wide Flange) กันก่อน
เหล็กเอชบีม และเหล็กไวด์แฟรงค์ เหล็กทั้งสองชนิดนี้ นับเป็นเหล็กประเภทเดียวกัน โดยจะมีลักษณะรูปร่างที่เหมือนกัน ซึ่งก็คือ มีปีกบน (Flanges) และปีกล่างเท่ากันคงที่ต่อเนื่องกันตลอดทั้งเส้น แต่สิ่งที่ทำให้เหล็กทั้งสองชนิดนี้แตกต่างกันก็คือปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้
1. มาตรฐานที่รองรับของเหล็กเอชบีมกับเหล็กไวด์แฟรงค์
เหล็กเอชบีม (H-Beam)
มาตรฐานที่รองรับของเหล็กเอชบีม คือ มาตรฐาน มอก. (TIS) โดยยึดตามสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม ที่กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน มอก.1227 ซึ่งระบุไว้ว่า เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อนหน้าตัดรูปตัว H ให้เรียกว่า เหล็กรูปตัวเอช (H-Section Stell) หรือ H-Beam นั่นเอง
เหล็กไวด์แฟรงค์ (Wide-Flange)
ในส่วนของเหล็กไวด์แฟรงค์นั้น จะเรียกเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อนรูปตัว H ตามมาตรฐาน ASTM (American Society for Testing and Meterials) A6 “Standart Specification for General Requirements for Rolled Structural Steel Bars, Plates, Shapes, and Sheet Piling” ซึ่งได้ระบุไว้ว่าเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อนหน้าตัดตัว H ให้เรียกว่า W-Shape หรือ Wide Flange
2. หน่วยในการวัดของเหล็กเอชบีมและเหล็กไวด์แฟรงค์
เหล็กเอชบีม (H-Beam)
การระบุขนาดของเหล็กเอชบีม จะใช้เป็นหน่วยวัดในระบบเมตริก (Metric System) ซึ่งจะมีหน่วยวัดความยาวเป็นมิลลิเมตร (mm.) เช่น H200x100x5.5x8 mm. หรือ H300x300x10x15 mm. เป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่า ไม่ว่าขนาดหน้าตัดที่มีสัดส่วน ความลึกกับความกว้าง เท่าหรือไม่เท่ากัน ก็จะสามารถเรียกได้เหมือนกันว่า เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อนหน้าตัดรูปตัว H หรือ H-Beam
เหล็กไวด์แฟรงค์ (Wide-Flange)
ส่วนการระบุขนาดของเหล็กไวด์แฟรงค์นั้น จะเป็นหน่วยวัดอังกฤษ (Imperial Units) เช่น W 8”x4” หรือ H6”x6” จะมีหน่วยวัดความยาวเป็นนิ้ว (inch.) ซึ่งไม่ว่าหน้าตัดจะมีสัดส่วน ความลึกกับความกว้าง เท่ากันหรือไม่ ก็จะเรียกเหล็กชนิดนี้ว่า Wide Flange โดยยึดตามมาตรฐานของ ASTM
เหล็กเอชบีม (H-Beam) และเหล็กไวด์แฟรงค์ (Wide Flange)
ลักษณะภายนอกของเหล็กเอชบีมและเหล็กไวด์แฟรงค์
เหล็กเอชบีมหรือเหล็กไวด์แฟลงค์ มีหน้าตัดเป็นรูปตัวเอช (H) ตรงตามชื่อ แต่สิ่งที่ต้องสังเกตคือ ส่วนที่เป็นขาตัวเอช หรือที่เรียกว่า “ปีก” (Flanges) จะมีความหนากว่าแกนตรงกลาง หรือที่เรียกว่า “เอว” (Web) อยู่เสมอ และ “ปีก” นี้ยังมีลักษณะตรงเรียบ ความหนาคงที่ สัดส่วนหน้าตัดมีทั้งแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัสและผืนผ้า ทำให้เหล็กเอชบีมหรือเหล็กไวด์แฟลงก์ มีคุณสมบัติรับแรงได้ดี จึงเป็นหน้าตัดที่คนรู้จักคุ้นเคยและเลือกใช้มากที่สุดชนิดหนึ่ง
การนำไปใช้งานของเหล็กเอชบีมและเหล็กไวด์แฟรงค์
เหล็กเอชบีมหรือเหล็กไวด์แฟรงค์ เป็นเหล็กก่อสร้างที่นิยมใช้สำหรับงานโครงสร้างหลักของอาคาร ไม่ว่าจะเป็นอาคารต่าง ๆ หรือบ้านพักอาศัย โดยมักใช้ทำเป็นเสา คาน โครงหลังคา รวมไปถึงโครงถักสำหรับอาคารที่ยื่นยาว (Cantilever) เป็นต้น
นอกจากนี้ ด้วยความที่เหล็กเอชบีมมีบทบาทสำคัญต่อโครงสร้างของอาคาร การเลือกใช้เหล็กบีมจึงต้องได้มาตรฐาน รวมไปถึงวิธีการใช้งานที่ถูกต้อง เช่น การตัด การต่อ การเชื่อม และการยึดสลักเกลียว ก็ต้องได้มาตรฐานเช่นกัน เพื่อความแข็งแรง ทนทาน และปลอดภัยของอาคาร
เหล็กไอบีม (I-Beam)
ลักษณะภายนอกของเหล็กไอบีม
เหล็กไอบีม (I-Beam) นั้นคล้ายกับเหล็กเอชบีม (H-Beam) แต่ให้สังเกตที่ "ปีก" ของเหล็ก ซึ่งจะลาดเอียงเข้าหาแกนกลางหรือ "เอว" ความหนาของปีกที่อยู่ใกล้แกนกลางจะหนากว่าส่วนปลาย และปลายปีกจะมีความโค้งมน บางแห่งอาจเรียกว่า S-Section ทั้งนี้ด้วยหน้าตัดของเหล็กไอบีมเป็นรูปตัวไอ (I) จึงทำให้ปีกเหล็กหนาขึ้นที่โคนปีก และเป็นเหล็กก่อสร้างที่สามารถรับแรงสั่นสะเทือนได้ดีกว่าเหล็กเอชบีม
การใช้งานของเหล็กไอบีม
ด้วยคุณสมบัติพิเศษคือหน้าตัดรูปตัวไอ และมีปีกเหล็กที่จะหนาขึ้นที่โคนปีก ซึ่งเป็นเหล็กก่อสร้างที่สามารถรับแรงสั่นสะเทือนได้ดี นิยมใช้เป็นโครงสร้างหลักของอาคารเช่นเดียวกัน กับ H-Beam แต่ด้วยคุณสมบัติของปีกที่หนากว่าจึงนิยมนำมาใช้ทำรางเครนในอาคารงานอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่
เหล็กไอบีม (I-Beam) และเหล็กเอชบีม (H-Beam) ต่างกันอย่างไร ?
ความแตกต่างด้านลักษณะภายนอก ของ เหล็กไอบีม และ เหล็กเอชบีม
ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดระหว่างเหล็กไอบีม (I-Beam) และเหล็กเอชบีม (H-Beam) คือ ปีก (flanges) ซึ่งเหล็กไอบีมจะมีความลาดเอียงเข้าหาแกนกลางหรือเอว (web) ต่างจากเหล็กเอชบีมที่มีปีกหนากว่าแกนกลาง แต่ปีกจะไม่โค้งเข้าหาแกนกลาง
สรุปง่าย ๆ คือ
- เหล็กไอบีม ปีกเอียงเข้าหาแกนกลาง โคนปีกหนา เป็นเหล็กโครงสร้างที่เหมาะกับงานรับแรงสั่นสะเทือน
- เหล็กเอชบีม ปีกหนากว่าแกนกลาง ไม่โค้งเข้าหาแกน เป็นเหล็กโครงสร้างที่เหมาะกับงานรับแรงดึง แรงอัด
ความแตกต่างด้านน้ำหนักของเหล็กไอบีมและเหล็กเอชบีม
เหล็กไอบีม (I-Beam) จะมีน้ำหนักต่อเมตรมากกว่าเหล็กเอชบีม (H-Beam) เมื่อเปรียบเทียบกับขนาดหน้าตัดที่เท่ากัน สาเหตุหลักคือเหล็กไอบีมเป็นเหล็กโครงสร้างที่มีความหนาของเหล็กมากกว่า เพื่อรองรับแรงกระแทกหนัก ๆ เช่น รางเลื่อน ตัวเครนยกของหนักในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ หรือโครงสร้างขนาดใหญ่ เป็นต้น
สั่งซื้อเหล็กไอบีม เหล็กเอชบีมหรือเหล็กไวด์แฟรงค์ คุณภาพมาตรฐานที่ KTM Metal
KTM Metal ให้บริการจำหน่ายเหล็กไอบีม เหล็กเอชบีมหรือเหล็กไวด์แฟรงค์ พร้อมส่งมอบเหล็กบีมที่ตอบโจทย์การใช้งาน คุณภาพตรงสเปก สั่งง่าย ส่งไว สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจเช็กราคาเหล็กรูปพรรณหรือสั่งซื้อเหล็กบีมสามารถขอใบเสนอราคา หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02-323-9307, 02-323-9308