null

รู้จักเหล็กสร้างโรงงานแบบต่าง ๆ และการเลือกใช้งานอย่างคุ้มค่า

17 ธันวาคม 2567

บทความ

โรงงานและโกดังสินค้า คือสิ่งปลูกสร้างที่เป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจแทบทุกประเภท จึงจำเป็นจะต้องมีความแข็งแรง ทนทาน และตอบโจทย์การใช้งานในระยะยาว ซึ่งเหล็กก่อสร้างถือเป็นวัสดุหลักที่มีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อการก่อสร้าง ด้วยคุณสมบัติที่ช่วยให้โครงสร้างมีความมั่นคงแข็งแรง ทั้งยังสามารถออกแบบได้หลากหลาย ดังนั้นการเข้าใจลักษณะเหล็กโครงสร้างในแบบต่าง ๆ จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถตัดสินใจเลือกใช้งานได้อย่างมั่นใจ และเหมาะสมกับงบประมาณที่ตั้งเอาไว้ 

ประเภทของเหล็กที่ใช้ในการสร้างโรงงานและโกดัง

การเลือกประเภทเหล็กที่เหมาะกับการก่อสร้างโรงงานหรือโกดังสินค้า ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้โครงสร้างมีความแข็งแรง ปลอดภัย และคุ้มค่าในระยะยาว โดยมีประเภทของเหล็กสร้างโรงงานที่นิยมใช้กัน ดังนี้

เหล็กเส้น

เหล็กเส้น เป็นเหล็กที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้เสริมโครงสร้างของคอนกรีต มีความทนทานและยืดหยุ่น เหมาะสำหรับงานฐานราก เสา และโครงสร้างที่ต้องการความมั่นคง

  • เหล็กเส้นกลม มีลักษณะเป็นเส้นหน้าตัดรูปวงกลม พื้นผิวเรียบ เหมาะกับใช้ในโครงสร้างทั่วไป
  • เหล็กข้ออ้อย มีลักษณะเป็นเส้นทรงกลมที่มีรอยหยัก ซึ่งมักเรียกกันว่า “ข้ออ้อย” เพื่อช่วยให้พื้นผิวสามารถยึดเกาะกับคอนกรีตได้ดียิ่งขึ้น เหมาะสำหรับโครงสร้างที่รับแรงมาก เช่น เสาและพื้น                                                   
  • เหล็กไวร์เมช มีลักษณะเป็นตะแกรงเหล็กที่ถูกเชื่อมติดกันเป็นแผ่น เหมาะสำหรับงานเทพื้น และงานก่อสร้างที่ต้องการความรวดเร็ว

เหล็กรูปพรรณ

เหล็กรูปพรรณ ได้รับการออกแบบมาเพื่อใช้ในโครงสร้างต่าง ๆ มีหลายรูปแบบที่ตอบโจทย์งานก่อสร้างโรงงานและโกดังสินค้า ได้แก่ 

  • เหล็ก H-Beam, I-Beam และ Wide Flange โดยเหล็ก H-Beam มีหน้าตัดรูปตัวเอช ส่วนเหล็ก I-Beam และ Wide Flange จะมีหน้าตัดรูปตัวไอ ซึ่งล้วนแต่เป็นเหล็กที่มีความแข็งแรงและรับน้ำหนักได้ดี นิยมใช้ในโครงสร้างหลัก เช่น เสาและคานของโรงงาน
  • เหล็กตัวซี เป็นเหล็กที่มีหน้าตัดรูปตัวซี เหมาะสำหรับงานโครงสร้างขนาดเล็กและขนาดกลางเช่น แปหลังคา
  • เหล็กราง เป็นเหล็กที่มีหน้าตัดรูปตัวยู ใช้ในงานก่อสร้างที่ต้องการความแข็งแรง เช่น เสา คาน โครงหลังคา
  • เหล็กกล่อง เป็นเหล็กที่มีหน้าตัดรูปสี่เหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยมจัตุรัส ใช้ในงานก่อสร้างขนาดกลางและขนาดเล็ก เช่น โครงหลังคาเหล็ก คาน
  • เหล็กฉาก เป็นเหล็กที่มีหน้าตัดรูปตัวแอล ใช้ในงานเสริมความแข็งแรงของโครงสร้าง เช่น เสาหรือคานขนาดเล็ก
  • เหล็กท่อ เป็นเหล็กทรงกระบอก หน้าตัดเป็นวงกลมที่มีโพรงภายใน นิยมใช้ในโครงสร้างที่ต้องการความสวยงามและงานระบบ
  • เหล็กแผ่น มีลักษณะเป็นเหล็กแผ่นเรียบ เหมาะสำหรับงานพื้นและผนังในโรงงาน

ข้อดีของการใช้เหล็กในการก่อสร้างโรงงานและโกดัง

การเลือกใช้เหล็กแบบต่าง ๆ ในการสร้างโรงงานและโกดัง มีข้อดีหลากหลาย ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการก่อสร้างและอายุการใช้งาน ดังนี้

ความแข็งแรงและทนทานสูง

เหล็กเป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติเชิงโครงสร้างที่แข็งแรงทนทาน สามารถรองรับน้ำหนักได้มากและทนต่อแรงกระแทกหรือแรงดึงสูง เหมาะสำหรับโครงสร้างที่ต้องการความมั่นคง เช่น โรงงานอุตสาหกรรม

ทนทานต่อสภาพแวดล้อม

เหล็กมีคุณสมบัติในด้านของความทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง เช่น ความชื้น อุณหภูมิสูง และการกัดกร่อน โดยเฉพาะเมื่อเลือกใช้เหล็กที่ผ่านกระบวนการชุบสังกะสี จะยิ่งต้านทานการเกิดสนิมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อายุการใช้งานยาวนาน

โครงสร้างที่ใช้เหล็กคุณภาพสูง มักมีอายุการใช้งานยาวนานกว่าวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ จึงช่วยลดความถี่ในการซ่อมแซมและการบำรุงรักษา ประหยัดงบประมาณได้ในระยะยาว

ความยืดหยุ่นในการออกแบบ

เหล็กสามารถดัดแปลงและเชื่อมต่อเข้ากับวัสดุอื่นได้ง่าย ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการออกแบบโครงสร้างตามความต้องการ จึงตอบโจทย์ทั้งความแข็งแรงทนทาน และความสวยงามได้อย่างลงตัว

ความสะดวกและรวดเร็วในการก่อสร้าง

เหล็กเป็นวัสดุที่ได้รับการออกแบบมาให้ติดตั้งง่าย ลดระยะเวลาในการก่อสร้าง รวมถึงต้นทุนด้านแรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ความคุ้มค่าในระยะยาว

แม้ว่าค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างด้วยเหล็กในระยะเริ่มต้นอาจสูงกว่าวัสดุอื่น ๆ แต่เมื่อพิจารณาถึงอายุการใช้งานและค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาในระยะยาวแล้ว การเลือกใช้เหล็กจะคุ้มค่ากว่า 

การใช้เหล็กสร้างโรงงานหรือโกดัง เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกประเภท เพราะนอกจากจะมีทั้งความแข็งแรงและทนทานแล้ว ยังตอบโจทย์ในเรื่องของความคุ้มค่าอีกด้วย

หากต้องการเหล็กเส้น เหล็กรูปพรรณ และเหล็กแผ่น มาใช้ในการก่อสร้างโรงงานและโกดัง สามารถสั่งซื้อได้ที่ KTM Metal ผู้ให้บริการจำหน่ายเหล็กโครงสร้าง พร้อมส่งมอบเหล็กก่อสร้าง ตรงสเปก สั่งง่าย ส่งไว ตอบโจทย์การใช้งานในการก่อสร้างโรงงานและโกดังสำหรับหลากหลายอุตสาหกรรม สามารถขอใบเสนอราคา หรือสอบถามข้อมูลได้ที่ โทร. 02-323-9307, 02-323-9308

ข้อมูลอ้างอิง