
เหล็กรูปพรรณสำหรับงานโครงสร้างเหล็กที่ผู้รับเหมาต้องรู้
08 เมษายน 2568
ในปัจจุบันงานโครงสร้างเหล็กได้รับความนิยมอย่างมากในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างอาคารสูง โรงงานอุตสาหกรรม โกดังสินค้า หรือสะพาน เนื่องจากให้ความแข็งแรงทนทาน โดยองค์ประกอบหลักของงานโครงสร้างเหล็กคือการนำ "เหล็กรูปพรรณ" มาใช้ในกระบวนการก่อสร้าง ซึ่งมีอยู่หลากหลายประเภทด้วยกัน การเลือกใช้เหล็กรูปพรรณที่เหมาะสมไม่เพียงแต่จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของโครงสร้างเท่านั้น แต่ยังช่วยให้การก่อสร้างเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพด้วย
โครงสร้างเหล็ก คืออะไร ?
โครงสร้างของอาคารสูง โรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงโกดังสินค้า ที่ใช้เหล็กรูปพรรณเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้างทั้งตัวเสา คาน โครงหลังคา และพื้น ซึ่งจากลักษณะการใช้งานของเหล็กรูปพรรณที่มีคุณสมบัติแตกต่างกัน จะทำให้เกิดความแข็งแรง ทนทาน และรองรับน้ำหนักได้ดี อีกทั้งยังมีความยืดหยุ่นในการก่อสร้าง จึงสามารถปรับแต่งพื้นที่ภายในได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
เหล็กรูปพรรณที่ใช้ในงานโครงสร้างเหล็ก มีอะไรบ้าง ?
อาคารโครงสร้างเหล็ก รวมถึงสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เหล็กเป็นองค์ประกอบ มักนำเหล็กรูปพรรณมาใช้ในงานก่อสร้าง ซึ่งมีเหล็กอยู่หลายประเภทด้วยกัน เช่น
เหล็ก Wide Flange, H-Beam และ I-Beam
เหล็กบีม คือ เหล็กรูปพรรณที่มีหน้าตัดเป็นรูปตัว H และ I ถูกออกแบบมาให้ทนต่อแรงกด แรงเฉือน และมีความแข็งแรงสูง เหมาะสำหรับการใช้เป็นคานรับน้ำหนักในโครงสร้างอาคารและสะพาน รวมถึงใช้ในงานเสาและโครงหลังคาของอาคารสูง
เหล็กรางน้ำ C และ U
เหล็กรางน้ำ มีลักษณะหน้าตัดคล้ายตัวอักษร C หรือ U มีคุณสมบัติในการรับแรงดัดได้ดีในทิศทางที่ตั้งฉากกับแกนหลัก นิยมใช้เป็นโครงสร้างรองรับเพดานหรือผนังของอาคาร
เหล็กกล่อง
เหล็กกล่อง มีลักษณะเป็นท่อสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า ให้ความแข็งแรงสูงในการรับแรงในทุกทิศทาง เหมาะสำหรับใช้เป็นเสาหรือคานในอาคารที่มีความสูงไม่มาก เช่น บ้านพักอาศัย อาคารพาณิชย์ และโรงงานขนาดเล็ก รวมถึงใช้ในงานโครงสร้างเฟอร์นิเจอร์และงานตกแต่งอาคาร
เหล็กฉาก
เหล็กฉาก มีหน้าตัดเป็นรูปตัว L ถูกออกแบบมาให้มีความทนทานต่อการรับแรง จึงมักถูกนำไปใช้เป็นโครงสร้างเสริมแรงในงานก่อสร้าง เช่น ค้ำยันคาน เสริมความแข็งแรงของจุดต่อ หรือใช้เป็นโครงนั่งร้าน รวมถึงโครงหลังคา
เหล็กแผ่น
เหล็กแผ่น คือ เหล็กรูปพรรณที่มีลักษณะเป็นแผ่นแบน มีความหนาที่หลากหลาย ตั้งแต่เพียงไม่กี่มิลลิเมตรไปจนถึงหลายเซนติเมตร สามารถตัด เจาะ และดัดให้มีรูปร่างตามต้องการได้ เหมาะสำหรับการใช้ปูพื้นโครงสร้างเหล็ก และเป็นแผ่นเสริมความแข็งแรงบริเวณจุดรองรับน้ำหนัก รวมถึงทำผนังหรือแผ่นปิดโครงสร้าง
เหล็กเส้นกลม และเหล็กข้ออ้อย
เหล็กเส้นกลมมีผิวเรียบ ส่วนเหล็กข้ออ้อยมีร่องบนผิว เหมาะกับการนำไปใช้เสริมคอนกรีต เพื่อเป็นฐานรากของอาคาร เสา และคาน ช่วยเพิ่มความแข็งแรง สามารถรับแรงดึงและแรงเฉือนได้ดีขึ้น

ข้อดีของโครงสร้างเหล็ก
สำหรับข้อดีของการก่อสร้างแบบโครงสร้างเหล็กนั้น มีอยู่หลายประการด้วยกัน ดังนี้
แข็งแรงทนทาน
โครงสร้างเหล็กมีความแข็งแรงสูง สามารถรับแรงได้ทั้งแรงดึง แรงอัด และแรงเฉือน ทำให้สามารถออกแบบอาคารที่มีช่วงเสาห่างได้มากกว่าโครงสร้างคอนกรีต
ประหยัดค่าใช้จ่าย
ถึงแม้ว่าราคาเหล็กรูปพรรณ อาจสูงกว่าไม้หรือวัสดุอื่น ๆ แต่เมื่อพิจารณาอายุการใช้งานที่ยาวนานและค่าบำรุงรักษาที่ต่ำกว่า ก็ถือเป็นการประหยัดต้นทุนในการก่อสร้างลงได้อย่างคุ้มค่า
ก่อสร้างได้รวดเร็ว
การก่อสร้างด้วยโครงสร้างเหล็กสามารถทำได้รวดเร็ว เนื่องจากชิ้นส่วนต่าง ๆ สามารถผลิตในโรงงานล่วงหน้าและนำมาประกอบที่หน้างานได้ทันที ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างได้เป็นอย่างดี
มีความยืดหยุ่น ประยุกต์ใช้ได้หลายแบบ
โครงสร้างเหล็กสามารถดัดแปลง ต่อเติม หรือประยุกต์ได้อย่างหลากหลาย ทำให้อาคารสามารถปรับเปลี่ยนการใช้งาน รวมถึงขนาดพื้นที่ใช้สอยภายในได้ตามความต้องการ
เหล็กรูปพรรณสำหรับใช้ในโครงสร้างเหล็กมีอยู่ด้วยกันหลายประเภท และมีลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกัน หากเลือกอย่างเหมาะสม จะช่วยให้งานโครงสร้างเหล็ก มีความแข็งแรง คงทน และประหยัดต้นทุนในระยะยาว
สำหรับผู้ประกอบการที่มองหาเหล็กโครงสร้างคุณภาพดี สามารถสั่งซื้อได้ที่ KTM Metal ผู้ให้บริการจำหน่ายเหล็กฉาก เหล็ก Wide Flange H-Beam I-Beam เหล็กรางน้ำ เหล็กกล่อง เหล็กแผ่น เหล็กเส้นกลม และเหล็กข้ออ้อย พร้อมส่งมอบเหล็กตรงสเปก สั่งง่าย ส่งไว ตอบโจทย์การใช้งานในหลายอุตสาหกรรม สามารถเช็กราคาเหล็กรูปพรรณ และข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02-323-9307, 02-323-9308
ข้อมูลอ้างอิง
ความรู้พื้นฐานเรื่อง อาคาร และโครงสร้างเหล็ก. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2568 จาก