
รู้จักประเภทและวิธีเลือกซื้อเหล็กฉากมาใช้งานอย่างเหมาะสม
18 ตุลาคม 2567
คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเหล็กฉาก เป็นหนึ่งในประเภทของเหล็กที่มีความสำคัญอย่างมากในงานก่อสร้าง ผู้รับเหมาจึงควรให้ความสำคัญในการเลือกซื้อเหล็กฉากคุณภาพมาใช้งาน โดยในบทความนี้ เรามีวิธีเลือกซื้อเหล็กฉากให้เหมาะกับงานในแต่ละประเภทมาแนะนำกัน
เหล็กฉาก คืออะไร มีกี่ประเภท ?
เหล็กฉาก คือเหล็กกล้าคาร์บอนที่ขึ้นรูปเป็นเหล็กรูปพรรณ ผ่านกระบวนการรีดร้อน ทำให้ได้รูปทรงตัว L ทำมุมตั้งฉาก 90 องศา มีขา 2 ขา ทั้งแบบเท่ากันและไม่เท่ากัน มีคุณสมบัติเด่นคือความแข็งแรงทนทาน อีกทั้งยังสามารถนำมาใช้ในงานโครงสร้างต่าง ๆ ได้หลากหลายรูปแบบ แต่เหล็กฉากก็มีอยู่หลายประเภท จึงควรทำความเข้าใจเพื่อเลือกให้เหมาะกับลักษณะงาน โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ดังนี้
- เหล็กฉาก เป็นประเภทพื้นฐานที่นิยมใช้ในงานก่อสร้างทั่วไป มีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ สามารถเลือกได้ตามความต้องการเพื่อนำไปใช้งาน
- เหล็กฉากเจาะรู เป็นประเภทที่มีรูเจาะตามแนวเหล็ก เพื่อให้ง่ายต่อการยึดติดกับวัสดุอื่น เช่น ใช้ในงานตกแต่ง หรือในงานที่ต้องการเพิ่มความแน่นหนาในบริเวณที่เป็นมุมหรือฐานของชิ้นงานต่าง ๆ
- เหล็กฉากกัลวาไนซ์ เป็นประเภทที่ผ่านกระบวนการเคลือบสังกะสี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันสนิม เหมาะสำหรับการใช้ในงานกลางแจ้งหรือในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นสูง
คุณสมบัติของเหล็กฉาก
สาเหตุที่ทำให้เหล็กฉากได้รับความนิยมในการนำไปใช้ในงานโครงสร้างของอุตสาหกรรมต่าง ๆ มาจากคุณสมบัติอันโดดเด่น ดังนี้
- แข็งแรงทนทานสูง เนื่องจากสามารถรับแรงดึงและแรงกดได้ดี จึงเหมาะสำหรับการนำไปใช้ในงานโครงสร้างที่ต้องการความคงทนสูง
- น้ำหนักเบา ด้วยรูปทรงลักษณะตัว L จึงสามารถรองรับน้ำหนักได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังง่ายต่อการติดตั้งและเคลื่อนย้าย ประหยัดแรงงานในการก่อสร้าง
- ทนทานต่อการกัดกร่อนและเป็นสนิม โดยเฉพาะเหล็กฉากฉุบกัลวาไนซ์ ที่ตอบโจทย์กับการนำไปใช้ในสภาพภูมิอากาศต่าง ๆ รวมถึงพื้นที่ชื้น หรือมีฝนตกเป็นประจำ
- มีหลากหลายขนาดและความหนา ทำให้สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม เพื่อผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
- ราคาคุ้มค่า ด้วยคุณสมบัติที่แข็งแรงทนทาน ช่วยให้ใช้งานได้อย่างยาวนาน ลดต้นทุนให้ผู้ประกอบการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วิธีเลือกซื้อเหล็กฉากมาใช้งาน
การเลือกซื้อเหล็กฉากให้เหมาะสมกับงานนั้น จำเป็นต้องพิจารณาจากหลายปัจจัย ดังนี้
ขนาดและความหนาของเหล็กฉาก
ปัจจัยสำคัญประการแรกที่ต้องพิจารณาในการเลือกซื้อเหล็กฉาก คือขนาดความกว้างของปีกทั้งสองด้าน และความหนา โดยต้องเหมาะสมกับการรองรับน้ำหนักและลักษณะของงาน โดยขนาดมาตรฐานที่นิยมนำมาใช้มีตั้งแต่ 25x25 มม., 40x40 มม., 50x50 มม. ไปจนถึงขนาด 200x200 มม.
วัสดุของเหล็กฉาก
อีกปัจจัยที่ต้องพิจารณาคือวัสดุที่ใช้ทำเหล็กฉาก โดยแบ่งได้ดังนี้
- หากเป็นเหล็กฉากทั่วไปที่ทำจากเหล็กกล้าคาร์บอน เหมาะสำหรับงานทั่วไป หรืองานที่ไม่ต้องสัมผัสกับความชื้นมากนัก
- ถ้าเป็นเหล็กฉากชุบกัลวาไนซ์ เหมาะสำหรับงานภายนอกอาคารที่ต้องสัมผัสกับสภาพอากาศ และความชื้นค่อนข้างสูง
ความตรงและความเรียบ
ในการเลือกซื้อเหล็กฉาก ควรตรวจสอบความตรงของเหล็กเสียก่อน โดยวางบนพื้นเรียบและสังเกตว่ามีช่องว่างระหว่างเหล็กกับพื้นหรือไม่ รวมถึงผิวของเหล็กฉากควรมีผิวเรียบสม่ำเสมอ และไม่มีรอยบุบหรือรอยเว้าแต่อย่างใด
มุมฉาก
ปัจจัยสำคัญประการต่อมาที่จำเป็นต้องพิจารณาคือลักษณะของมุมฉาก โดยให้ดูตรงมุมฉากระหว่างปีกทั้งสองด้านว่าควรเป็น 90 องศาพอดี เนื่องจากมุมฉากที่ไม่ตรง อาจส่งผลต่อความแข็งแรงและความสวยงามของงานได้
การนำไปใช้งาน
นอกจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะของเหล็กฉากแล้ว อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ต้องนำมาประกอบการพิจารณา คือการเลือกที่เหมาะสมกับความต้องการใช้งาน เช่น
- งานโครงสร้าง ควรเลือกเหล็กฉากที่มีความหนาและขนาดใหญ่พอที่จะรับน้ำหนักได้
- งานตกแต่ง ควรเลือกเหล็กฉากขนาดเล็กและบางกว่า แต่ควรคำนึงถึงความสวยงามด้วย
เหล็กฉากเป็นวัสดุที่มีความสำคัญอย่างมากในงานก่อสร้าง ด้วยคุณสมบัติที่แข็งแรง ทนทาน และมีน้ำหนักเบา ทำให้เหล็กฉากเป็นตัวเลือกยอดนิยมสำหรับงานโครงสร้างต่าง ๆ ดังนั้นก่อนการตัดสินใจเลือกซื้อเหล็กฉากที่ไหนดี ควรพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ อย่างรอบคอบ รวมถึงควรเลือกซื้อจากแหล่งจัดจำหน่ายที่มีความน่าเชื่อถือ เพื่อให้มั่นใจว่าจะได้เหล็กที่มีคุณภาพ พร้อมการบริการที่ได้มาตรฐาน
สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการเหล็กฉากที่มีคุณภาพราคาคุ้มค่า สามารถมาสั่งซื้อได้ที่ KTM Metal ผู้ให้บริการจำหน่ายเหล็กฉาก เหล็กฉากชุบกัลวาไนซ์ พร้อมส่งมอบเหล็กฉาก ตรงสเปก สั่งง่าย ส่งไว ตอบโจทย์การสร้างอาคารในทุกอุตสาหกรรม สามารถขอใบเสนอราคา หรือสอบถามข้อมูลได้ที่ โทร. 02-323-9307, 02-323-9308
ข้อมูลอ้างอิง
Steel Angle Basics & How to Buy. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2567 จาก https://www.servicesteel.org/resources/steel-angle-basics