
เกร็ดความรู้ “เหล็กเพลาขาว” และ “เหล็กเพลาดำ” ใช้งานต่างกันอย่างไร?
02 กุมภาพันธ์ 2566
เหล็กเพลากลม หรือ “เหล็กเพลาดำ” (Round Steel Bars) สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ เพลาหัวแดง (S45C) หรือเพลาหัวฟ้า (SCM440) เพื่อแยกประเภทเกรดของเนื้อเหล็ก และเหล็กเพลาอีกชนิดหนึ่ง คือ “เหล็กเพลาขาว” วันนี้ KTM Metal จะพามาทำความรู้จักกับเหล็กเพลา เหล็กที่นิยมนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในงานอุตสาหกรรม การก่อสร้าง ที่เน้นในเรื่องความกลม และความสวยงามเป็นพิเศษ
เหล็กเพลากลมดำ (Round Steel Bars)
เหล็กที่ผลิตมาจากการรีดเหล็กร้อน มีการควบคุมคุณภาพเรื่องความกลม ผิวเรียบไม่มีรอยปริแตก เหล็กเพลากลมดำยังมีหลายเกรด โดยสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท
1. เหล็กเพลาดำหัวแดง
เหล็กเพลาดำหัวแดง จัดอยู่ในเหล็กเกรด S45C, S50C ซึ่งมีคาร์บอนเป็นกลาง ( 0.45% – 0.55% ) บางยี่ห้ออาจมีการเติมอัลลอยอื่นๆเข้าไปเพื่อจะได้อบหรือชุบได้ง่าย และมีสมบัติเชิงกลได้ดี ซึ่งความแข็งหลังการชุบจะอยู่ที่ 60 HRC แต่เมื่อผ่านกระบวนการอบแล้วจะเหลืออยู่ที่ 50 – 58 HRC เพียงเท่านั้น
คุณสมบัติ
สามารถชุบแข็งด้วยเปลวไฟ หรือ อินดักชั่นได้ และสามารถฟอร์จขึ้นเป็นรูปได้ แต่ไม่เหมาะในงานเชื่อม เหล็กหัวแดงจะมีข้อบกพร่องอยู่ที่ไม่ค่อยทนสนิม จึงไม่สามารถที่จะใช้งานโครงสร้างแบบมาร์เทนไซต์ได้
การนำไปใช้งาน
สำหรับเหล็กชนิดนี้นิยมนำมาใช้งานในด้านชิ้นส่วนของฐานต่างๆ เช่น ฐานบ้าน ชิ้นส่วนเครื่องจักรกล เพลา ล้อเฟือง และสลักเกลียว เป็นต้น
2. เหล็กเพลาดำหัวฟ้า
สำหรับเหล็กเพลาดำสีฟ้า จัดอยู่ในเหล็กเกรด SCM4 , SCM440 เป็นเหล็กกล้าผสม มีคาร์บอนที่น้อยมากเพียงแค่ 0.40% เท่านั้น โครงสร้างของเหล็กสีฟ้าจะประกอบไปด้วยคาร์บอนที่มีธาตุอื่นผสมเข้าไปด้วย เพื่อให้ได้คุณสมบัติตามที่ต้องการ โดยจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานและแต่ละยี่ห้อ
คุณสมบัติ
มีความทนทาน ต้านทานต่อการกัดกร่อน การสึกหรอ และทนต่อในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูงได้มากกว่าเหล็กหัวแดงหลายเท่าตัวนัก จึงเป็นที่นิยมกันมากกว่าเหล็กหัวแดง มีความสามารถในการทุบขึ้นรูป (Forgeability) ได้ดีและต้านทานต่อการล้า (Fatigue) ได้ดี สามารถชุบอินดักชั่น ความสามารถในการกัด กลึง พอใช้
การนำไปใช้งาน
เหมาะสำหรับงานหนักและทนต่อการกระแทกได้เป็นอย่างดี มีลักษณะการใช้งานที่ไม่แตกต่างจากเหล็กกล้าหัวแดงมากนัก แต่จะมีความแตกต่างกันตรงโครงสร้าง นิยมใช้ในงาน เพลาเครื่องจักร แกนกลางเครื่องอัดแรงของแม่แรงไฮโดรลิค สกรูและน็อตของอุตสาหกรรม
เหล็กเพลาดำ JIS G 3101 คือ?
โดยทั่วไปแล้วเหล็กเพลาดำ ไม่ได้มีแค่ หัวแดงและหัวฟ้า แต่ยังมีเหล็กเพลาดำอีก 1 ชนิดที่เป็นที่นิยม และมีความน่าเชื่อถือนั้นก็คือ เหล็กเพลาดำ JIS G 3101 จะจัดอยู่ในเหล็กเกรด SS330 และ SS400 ซึ่งเป็นหนึ่งในเกรดเหล็กโครงสร้างคาร์บอนที่พบมากที่สุดกว่าเกรดอื่นๆ ของ JIS G3101 เมื่อเทียบกับมาตรฐานเหล็กอื่นๆ ของผลิตภัณฑ์เหล็กที่ทำจากเหล็กกล้าคาร์บอน
JIS หรือ Japanese Industrial Standards คือ มาตราฐานอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น ซึ่งหมายความว่าเหล็กเพลาดำ JIS G 3101 นั้น ผลิตขึ้นภายใต้มาตรอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นนั้นเอง ซึ่งมาตราฐานนี้ได้เป็นที่นิยมอย่างมากทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ ทั้งผู้นำเข้าและ ผู้ผลิตรายใหญ่ต่างนำเข้า อีกทั้งยังใช้อ้างอิงควบคู่ไปกับมาตราฐานผลิตภันฑ์ของประเทศไทยอีกด้วย
โดยความหมายของแต่ละตัวอักษรของ G 3101 คือ
G = โลหะประเภทเหล็กและโลหะวิทยา (การจัดกลุ่ม ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมต่างๆ)
3 = เหล็กคาร์บอน (กลุ่มประเภทของเหล็ก)
1 = เหล็กกล้าประสมนิเกิล และโครเมียม (ประเภทของวัสดุในกลุ่ม)
01 = เหล็กเครื่องมือ เหล็กคาร์บอน (ชนิดของส่วนผสมที่มีอยู่ในวัสดุนั้น)
เหล็กเพลาขาว (Cold Drawn Bar)
เหล็กเพลากลมขาว ( Cold Drawn Bar ) การผลิตที่เกิดขึ้นจากการนำเพลากลมดำ ไปดึงเย็นอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจะทำให้เหล็กเปลี่ยนจากสีเทาดำ เป็นสีเทาเงินๆ จึงเรียกว่าเหล็กเพลากลมขาวตามลักษณะของเหล็ก
คุณสมบัติ
เหล็กเพลาขาวเป็นเหล็กที่มีคุณลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างจากเหล็กทั่วไป มีลักษณะเป็นเส้นกลม ผิวเรียบ เท่ากันทั้งเส้น เนียนเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่มีแม้แต่รอยรอยแตก หรือขรุขระ เหล็กเพลากลมขาวจะมีความแข็ง มีเส้นผ่านศูนย์กลางที่แม่นยำ มีคุณสมบัติแข็งกว่าเหล็กเพลาดำ แต่ความยืดหยุดจะน้อยกว่าเหล็กเพลาดำ
การนำไปใช้งาน
เหล็กเพลาขาว ใช้งานได้หลากหลาย ตั้งแต่งานอุตสาหกรรม ไปจนถึงงานตกแต่งทั่วไป งานเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ แต่ที่นิยมกันจะใช้งานที่เน้นความกลม นำไปขึ้นรูปกลึงทำชิ้นงาน น๊อต สกรู ใช้เป็นชิ้นส่วนเครื่องจักร เพลารถ เพลาเครื่องจักร งานอุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า
หากท่านใดกำลังมองหาเหล็กเพลาสามารถสอบถามราคา และรายละเอียดได้ที่นี่
KTM Metal บริการจำหน่ายเหล็กรูปพรรณทุกชนิด ยินดีให้บริการ พร้อมส่งสินค้าถึงมือคุณแล้วทั่วประเทศ