
ข้อควรรู้ “เหล็กกล่องมอก.” มีวิธีดูอย่างไร
15 มิถุนายน 2566
คุณรู้จักเหล็กที่คุณใช้งานมากแค่ไหน โดยเฉพาะเหล็กที่มีความสำคัญต่อโครงสร้างนั้น จำเป็นต้องใช้เหล็กที่มีคุณภาพ มีมาตรฐานการผลิตที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจส่งผลตามมาได้ในอนาคต วันนี้ KTM Metal พามาทำความรู้จักกับเหล็กกล่องมอก. ก่อนนำไปใช้งานจริงกัน
ทำความรู้จักเหล็กกล่อง
เหล็กกล่องนั้นสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท
- เหล็กกล่องรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส ทางภาษาสามัญเรียกว่า เหล็กกล่องเหลี่ยมหรือแป๊บเหล็กสี่เหลี่ยม
- เหล็กกล่องรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทางภาษาสามัญเรียกว่า เหล็กกล่องแบนหรือแป๊บเหล็กสี่เหลี่ยมแบน
เหล็กกล่องเหลี่ยม (Square Steel Tube)
มีลักษณะเป็นท่อสี่เหลี่ยมจัตุรัส ข้างในกลวง เป็นมุมฉาก ต้องได้มุม 90 องศา ผิวเรียบ ไม่หยาบ ไม่เป็นสนิม ขนาดเท่ากันทุกๆ เส้น ซึ่งเหล็กกล่องสี่เหลี่ยมนี้ส่วนใหญ่นำไปใช้งานในด้านโครงสร้างเป็นหลัก สามารถใช้ทดแทนงานไม้และคอนกรีตได้ นอกจากจะเป็นโครงสร้างหลักแล้ว ยังถูกนำมาผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์ และของตกแต่งมากมาย เช่น เก้าอี้ Bar หรือ build-in สำหรับเชลล์วางของ เป็นต้น
ขนาดและความหนาที่นิยมใช้
- กล่อง 25*25 มม. หนา 2.3 / 3.2 มม.
- กล่อง 38*38 มม. หนา 2.3 / 3.2 มม.
- กล่อง 50*50 มม. หนา 2.3 / 3.2 มม.
- กล่อง 75*75 มม. หนา 2.3 / 3.2 มม.
- กล่อง 100*100 มม. หนา 2.3 / 3.2 มม.
เหล็กกล่องแบน (Rectangular Steel Tube)
มีลักษณะเป็นท่อรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ข้างในกลวง ผิวเรียบ ไม่หยาบ ไม่เป็นสนิม เหมาะสำหรับงานทั่วไปที่มีขนาดเล็ก ขนาดกลาง เช่น ต่อเติมโครงหลังคา กั้นระแนงระเบียง ทำราวบันได เป็นต้น อีกทั้งยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานทั่วไป ทดแทนการใช้ไม้ คอนกรีต หรือเหล็กรูปพรรณชนิดอื่น ๆ ได้เหมือนกับเหล็กกล่องสี่เหลี่ยม นอกจากนี้เหล็กกล่องแบนยังเป็นที่นิยมเป็นอย่างมากในการในมาทำเป็นงานต่อเติม DIY ต่างๆ เช่น เฟอร์นิเจอร์ งานตกแต่ง เป็นต้น
ขนาดและความหนาที่นิยมใช้
- กล่อง 50*25 มม. หนา 2.3 / 3.2 มม.
- กล่อง 75*38 มม. หนา 2.3 / 3.2 มม.
- กล่อง 100*50 มม. หนา 2.3 / 3.2 มม.
ทำความรู้จัก มอก.
มอก. คือ "มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม" ที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.) ได้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางแก่ ผู้ผลิตในการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพในระดับที่เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด ทั้งนี้สำหรับมาตรฐานเหล็กก็มีแบ่งมาตรฐานมอก. ตามประเภทของเหล็กอีกด้วย โดยจัดทำออกมาเป็นเอกสารและ จัดพิมพ์เป็นเล่ม ภายใน มอก.แต่ละเล่มประกอบด้วยเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการผลิตผลิตภัณฑ์นั้นๆ เช่น เกณฑ์ทางเทคนิค คุณสมบัติที่สำคัญ ประสิทธิภาพของการนำไปใช้งาน คุณภาพของวัตถุที่นำมาผลิต และวิธีการทดสอบ เป็นต้น
ตัวอักษรที่อยู่บนเหล็ก มอก. สื่อถึงอะไร
- โรงงานหรือชื่อผู้ผลิต
- มาตรฐานที่รองรับ
- เกรดเหล็กที่ผลิต
- ขนาดและความหนา
- Lot Number
การนำเหล็กกล่องไปใช้งานนั้นควรเลือกเหล็กที่มี มอก. เพื่อความปลอดภัยในระยะยาวนะครับ อาจมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าเหล็กทั่วไปแบบไม่มอก. เสียหน่อย แต่เชื่อเถอะครับว่ายังไงก็คุ้มกว่าแน่นอนครับ หากคุณกำลังมองหาเหล็กกล่องมอก. ที่ได้รับมาตรฐานแล้วไว้ใจ KTM Metal ได้เลยครับ เพราะเราจำหน่ายเหล็กที่มีคุณภาพมาตลอด 30 ปี และพร้อมให้คำปรึกษาโดยทีมงานมืออาชีพเกี่ยวกับเรื่องการเลือกซื้อเหล็ก
ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
- โทรศัพท์ : 02-323-9307, 02-323-9308
- แฟกซ์ : 02-323-9309
- อีเมล : info@ktmmetal.com
- ไลน์ : @ktmmetal