
ท่อเหล็กมีกี่ชนิด แต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร
13 มกราคม 2566
เหล็กท่อกลม หรือ ท่อเหล็ก (Steel Pipe) เกิดจากการนำเหล็กกล้ามาเข้าสู่กระบวนการทางความร้อนในเตาหลอมเหล็กกล้า และนำไปรีดขึ้นรูปเป็นท่อทรงกลม มีความแข็งแรง ทนทานเป็นพิเศษ ทนต่อสภาพแวดล้อมและสภาพอากาศ ทนต่อสารสารเคมี ซึ่งท่อเหล็กมีหลากหลายประเภท คุณสมบัติและการใช้งานก็ต่างกัน วันนี้ KTM Metal ขอแนะนำให้รู้จักกับประเภทของ “ท่อเหล็ก” ลักษณะคล้ายกันแต่การใช้งานต่างกันมาก
ท่อกลมดำ
เหล็กท่อกลมดำ (Carbon Steel Tubes) หรือที่นิยมเรียกกันว่าเหล็กท่อดำ, แป๊บดำ เหล็ก เป็นรูปพรรณลักษณะทรงกลม แบบกลวง สีดำ น้ำหนักเบา แต่คงความแข็งแรง ทนทาน ตะเข็บเรียบ สามารถรับแรงดันได้ดี ทั้งแรงเสียดทานและแรงลม
เป็นเหล็กที่นำไปใช้งานก่อสร้างที่รับน้ำหนักไม่มากนัก เช่น ท่อน้ำสำหรับอาคารสูง,งานขึ้นรูปโครงสร้างต่างๆ,งานเชื่อมต่อ, รวมถึงนำไปประยุกต์ใช้ในงานทั่วไป, ร้อยท่อสายไฟ รั้ว ประตู โครงถักป้ายจราจร, ทำนั่งร้าน, อาคารอเนกประสงค์ และงานต่างๆอีกมากมาย
ท่อสตีมดำ API
เหล็กแป๊บสตีม (Steam Carbon Steel Pipes) มีชื่อที่นิยมเรียกใช้กันหลายชื่อ เช่น แป๊บสตีมดำ ท่อสตีม ท่อสตีมดำ API เป็นเหล็กรูปพรรณ มีลักษณะเป็นท่อกลม กลวง ยาว ผิวเรียบ มีทั้งแบบมีตะเข็บ และไม่มีตะเข็บ
ท่อแบบมีตะเข็บ (Welded pipe) จะเป็นท่อที่มีคุณสมบัติรับแรงดันน้ำต่ำ เพราะกระบวนการผลิตคือการนำเหล็กแผ่นของแผ่นมาเชื่อมต่อกัน หากรับแรงดันน้ำสูงมากๆ จะมีโอกาสทำให้ท่อปริแตกออกมา ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับใช้เป็นท่อที่รับแรงดันน้ำน้อยๆ เช่น ท่อที่ปล่อยน้ำไหลเรื่อยๆ หรือท่อน้ำทิ้ง
ท่อแบบไม่มีตะเข็บ (Seamless Pipe) จะมีคุณสมบัติทนต่อแรงดัน แรงบิดสูงมาก ท่อไม่มีรอยต่อทำให้ไม่มีความเสี่ยงของท่อแตกหัก ดังนั้นจึงเหมาะกับใช้ในงานลำเลียงน้ำมัน ท่อลำเลียงแก๊ส
ท่อประปา
เหล็กท่อประปา (Galvanized Pipe) เป็นเหล็กรูปพรรณมีลักษณะ เป็นท่อทรงกลม แบบกลวง สีเทาผิวเรียบ หรือนิยมเรียกกันว่า ท่อประปา เกิดจากการนำท่อดำไปชุบสังกะสีเพื่อเป็นการป้องการเกิดสนิม โดยท่อสังกะสี เหมาะกับการใช้ในงานที่ต้องการความแข็งแรง นิยมใช้ในงาน ท่อระบายน้ำ ท่อน้ำทิ้ง ท่อลำเลียงสายไฟ ลำเลียงน้ำ นอกจากนั้นยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานหลากหลาย เช่น ทำป้าย ทำรั้ว ประตู เสาโทรทัศน์ ราวตากผ้า เสาอากาศ
โดยเหล็กท่อประปาสามารถแบ่งความหนาเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. ท่อเหล็กประปาคาดสีแดง BS-H (หนาสุด)
ลักษณะ - ความหนาของผนังท่อหนาสุดเมื่อเปรียบเทียบกับท่อชนิดอื่นๆ
การนำไปใช้ - ส่วนใหญ่จะใช้ในการต่อท่อระบายน้ำที่ต่อใต้พื้นถนน หรือบริเวณที่รับน้ำหนักกด หรือ สั่นสะเทือนมาก
2. ท่อเหล็กประปาคาดน้ำเงิน BS-M สีน้ำเงิน (หนารองลงมา)
ลักษณะ - บางกว่าคาดสีแดง (BS-H) แต่ หนากว่าคาดสีเหลือง (BS-S)
การนำไปใช้ - เหมาะสมกับการใช้งานทั่วไป เป็นที่นิยม หาซื้อง่าย ใช้งานได้หลากหลาย เช่น ท่อประปา , ท่อน้ำทิ้ง
3. ท่อเหล็กประปาคาดเหลือง BS-S (บางสุด)
ลักษณะ - ความหนาของผนังท่อบางสุด
การนำไปใช้ - ในการต่อท่อระบายน้ำทิ้งในอาคารทั่วไปเป็นหลัก
ท่อกลม GI
เหล็กท่อกลมกัลวาไนซ์ หรือเหล็กพรีซิงค์ เป็นการนำเอาแผ่นสังกะสี(GI) มาใช้ในการผลิตเป็นท่อ มีคุณสมบัติทนการกัดกร่อนและทนต่อการเกิดสนิมดีกว่าเหล็กดำ เหมาะสำหรับงานในร่ม หรือพื้นที่ที่การกัดกร่อนไม่สูงมากไม่ต้องทาสี ประหยัดเวลา และค่าแรงคนงาน ใช้งานโครงเบา โครงเคร่า ทีบาร์ ฝ้า โครงหลังคาบ้าน ไม่แนะนำให้ใช้ในงานท่อประปาต่างๆ
ขนาดท่อเหล็ก
ขนาดท่อเหล็กเป็นข้อมูลที่สำคัญสำหรับการเลือกใช้ท่อในงานก่อสร้างและอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยท่อเหล็กมีหลายขนาดให้เลือกใช้งานตามความเหมาะสม ทั้งขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางและความหนาของผนังท่อ ซึ่งจะมีผลต่อความทนทานและน้ำหนักในการใช้งาน ขนาดท่อเหล็กที่ใช้กันทั่วไป เช่น ท่อเหล็ก 1 นิ้ว, ท่อเหล็ก 2 นิ้ว, ท่อเหล็ก 3 นิ้ว, ท่อเหล็ก 4 นิ้ว หรือท่อเหล็กขนาดพิเศษตามความต้องการเฉพาะ โดยท่อเหล็กเหล่านี้ถูกใช้ในหลากหลายงาน เช่น การสร้างโครงสร้างของอาคาร, การทำรั้ว, หรือการใช้ในงานทางวิศวกรรมที่ต้องการความแข็งแรงสูง ข้อมูลเกี่ยวกับขนาดท่อเหล็กที่แตกต่างกันช่วยให้การเลือกใช้งานมีความเหมาะสมและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
ขนาดท่อเหล็ก (นิ้ว) | ความหนา (มม.) | น้ำหนัก (กก./เมตร) |
---|---|---|
ท่อเหล็ก 1 นิ้ว | 1.2 มม. - 4 มม. | 5.6 กก. - 16.12 กก. |
ท่อเหล็ก 2 นิ้ว | 1.2 มม. - 5 มม. | 10.13 กก. - 38.47 กก. |
ท่อเหล็ก 3 นิ้ว | 1.8 มม. - 6 มม. | 21.92 กก. - 72.33 กก. |
ท่อเหล็ก 4 นิ้ว | 2 มม. - 6 มม. | 31.73 กก. - 88.5 กก. |
ท่อเหล็ก 5 นิ้ว | 2.5 มม. - 6 มม. | 49.2 กก. - 109.19 กก. |
ท่อเหล็ก 6 นิ้ว | 2.5 มม - 8 มม. | 58.4 กก. - 173.15 กก. |
ท่อเหล็ก 8 นิ้ว | 4 มม. - 12 มม. | 113.75 กก. - 340 กก. |
ท่อเหล็ก 10 นิ้ว | 4.5 มม. - 12 มม. | 164.2 กก. - 427.75 กก. |
ท่อเหล็ก 12 นิ้ว | 4.5 มม. - 12 มม. | 196.45 กก. - 509.52 กก. |
การนำท่อเหล็กไปใช้งาน
ท่อเหล็กมีหลายประเภท แต่ละประเภทมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน เพื่อตอบสนองความต้องการของงานที่แตกต่างกัน ท่อเหล็กกลมดำเป็นที่นิยมใช้ในงานที่ไม่ต้องการรับน้ำหนักมาก เช่น ระบบท่อสายไฟ และงานโครงสร้างเบา
การเลือกท่อเหล็กให้เหมาะสมกับงาน
การเลือกท่อเหล็กที่เหมาะสมสำหรับโครงการของคุณต้องพิจารณาหลายปัจจัย เช่น ความต้องการของโครงการ สภาพแวดล้อมในการใช้งาน และงบประมาณ การเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับท่อเหล็กแต่ละประเภทจะช่วยให้คุณตัดสินใจเลือกวัสดุที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการใช้งานและการลงทุนในอนาคต
การใช้ท่อเหล็กในงานออกแบบ
นอกจากการใช้งานด้านโครงสร้างแล้ว ท่อเหล็กยังถูกใช้เป็นองค์ประกอบสำคัญในการออกแบบทั้งในด้านสถาปัตยกรรมและออกแบบภายใน เช่น การสร้างแร็กแสดงสินค้า การออกแบบโครงสร้างตกแต่ง หรือเฟอร์นิเจอร์ที่มีท่อเหล็กเป็นโครงสร้างหลัก การใช้ท่อเหล็กในด้านนี้ช่วยเพิ่มความเป็นเอกลักษณ์และสร้างความทันสมัยให้กับผลิตภัณฑ์ อีกทั้งในด้านของการสร้างผลงานศิลปะและการตกแต่งก็ทำได้ดี ซึ่งสามารถสะท้อนถึงความทนทานและความสวยงามของวัสดุนี้ในแง่มุมที่แตกต่างไปจากการใช้งานโครงสร้างทั่วไป ศิลปินหลายคนเลือกท่อเหล็กเป็นวัสดุหลักในการสร้างโครงสร้างขนาดใหญ่หรือองค์ประกอบศิลปะแบบโต้ตอบ เพราะสามารถทนต่อสภาพอากาศได้ดีและมีความยืดหยุ่นในการประกอบและแปรรูป
ความสำคัญของการดูแลรักษาท่อเหล็ก
ท่อเหล็กถือเป็นส่วนสำคัญของโครงสร้างและระบบต่างๆ ที่ต้องการความทนทานและความแข็งแรง การตรวจสอบและบำรุงรักษาท่อเหล็กอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นกุญแจสำคัญในการยืดอายุการใช้งานและรักษาความปลอดภัยของท่อเหล็กให้อยู่ในสภาพที่ดีเยี่ยม
การดูแลรักษาท่อเหล็ก
การดูแลรักษาท่อเหล็กเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยยืดอายุการใช้งานและคงคุณภาพของท่อเหล็กให้ยั่งยืน การตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอและการทำความสะอาดท่อเหล็กจะช่วยป้องกันการกัดกร่อนและการสะสมของสิ่งสกปรก ซึ่งอาจนำไปสู่การชำรุดหรือความล้มเหลวของโครงสร้าง การรักษาท่อเหล็กอย่างถูกต้องและเหมาะสมจะช่วยลดต้นทุนในระยะยาวและเพิ่มความเชื่อมั่นในความเสถียรของโครงการที่ใช้ท่อเหล็ก
สรุป
ท่อเหล็กมีความสำคัญยิ่งในการสร้างและรักษาโครงสร้างพื้นฐานที่หลากหลาย ด้วยความแข็งแรง ทนทาน และความยืดหยุ่นในการใช้งาน ท่อเหล็กจึงเป็นทางเลือกที่ไม่มีวันล้าสมัยในอุตสาหกรรมการก่อสร้างและการผลิต การลงทุนในท่อเหล็กคุณภาพสูงจึงเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าสำหรับโครงการต่างๆ ที่ต้องการความเสถียร ความปลอดภัย และความทนทานระยะยาว เหล็กท่อ รูปร่างลักษณะคล้ายกันมาก แต่ไม่สามารถใช้งานแทนกันได้ หากต้องการใช้งานประเภทไหนควรศึกษาท่อเหล็กแต่ละชนิดอย่างละเอียด หากต้องการใช้งานเหล็กท่อ สามารถสอบถามราคาและรายละเอียดสินค้าได้ที่ https://www.ktmmetal.com/contact KTM Metal จำหน่ายเหล็กคุณภาพดี มีมาตรฐาน ครอบคลุมทุกอุตสาหกรรม พร้อมจัดส่งทั่วประเทศ